จากบทความที่แล้วเราอธิบายถึงความหมายและความสำคัญของ Digital Transformation ไปแล้ว หากใครที่พลาด อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ (อ่านบทความ Digital Transformation คืออะไร? คลิกที่นี่) ในบทความนี้เราจึงจะนำเสนอในเรื่อง Digital Transformation ที่ใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น หลายๆคน อาจจะสงสัยว่า ธุรกิจใดบ้างที่ควรหันมาสนใจในเรื่องนี้ให้มากขึ้น
ที่จริงแล้ว Digital Transformation สามารถเข้าไปเพิ่มศักยภาพให้กับทุกองค์ประกอบของธุรกิจได้ ดังนั้น เราจึงเห็นว่ามี Digital Transformation เกิดขึ้นได้ในธุรกิจทุกประเภท อย่างไรก็ดี ธุรกิจที่ตื่นตัวกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ ประกอบด้วย ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และมีเดีย การผลิต การเงินการธนาคาร การประกันภัย ขนส่งและโลจิสติกส์ สาธารณูปโภค การแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น
ธุรกิจใดในไทยที่เริ่มทำการ Digital Transformation แล้ว?
กลุ่มธุรกิจ ในไทยที่ได้รับแรงสั่นสะเทือนจากพายุDigital Disruption มากที่สุด ในขณะนี้ คือ ธุรกิจค้าปลีกที่ต้องต่อสู้กับกระแส e-Commerce และ ภาคธนาคารที่ต้องปรับตัวให้ทัน fintech ในด้านของธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะ กลุ่มห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ อย่าง Central Group ก็ได้เดินหน้า Digital Transformation เต็มรูปแบบ เพื่อ ปรับตัวรับกระแส e-Commerce โดย ประกาศร่วมลงทุนกับ JD.com ยักษ์ใหญ่ e-Commerce อันดับ 2 ของจีน ด้วยงบลงทุนร่วมกว่า 17,500 ล้านบาท เพื่อ สร้าง JD.co.th ซึ่งเป็น e-Commerce แพลตฟอร์มที่จะนำสินค้าคุณภาพจากจีนมาขายให้กับผู้บริโภคชาวไทย โดย หวังว่าจะขยายสัดส่วนยอดขายออนไลน์ของกลุ่มเซ็นทรัลจากปัจจุบันที่ 5% เป็น 15% ภายใน 5 ปี ในขณะเดียวกัน
ภาคธนาคารก็เร่งเดินหน้าสู่ Digital Banking โดยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ การพัฒนา Mobile Banking ให้สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด และ การทยอยปิดตัวของสาขาธนาคาร ทั้งนี้ ภาคธนาคารต้องเร่งDigital Transformation เนื่องจาก สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร (Non-bank) เช่น Alipay, WeChat Pay, TrueMoney สามารถใช้ประโยชน์จาก fintech เพื่อเข้ามาเป็นผู้ให้บริการทางการเงินแข่งกับธนาคารได้แล้ว หากภาคธนาคารไทยปรับตัวไม่ทัน ก็อาจต้องเสียความเป็นผู้นำตลาด อย่างที่ Alipay และ WeChat Pay สามารถเอาชนะภาคธนาคารของจีนได้สำเร็จมาแล้ว
กระบวนการ Digital Transformation เป็นอย่างไร?
Altimeter บริษัทที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ได้แบ่งกระบวนการ Digital Transformation ของธุรกิจออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. Business as Usual : เป็นระยะที่ธุรกิจยังดำเนินไปในรูปแบบเดิม โดยธุรกิจอาจเริ่มมีความสนใจในดิจิทัล แต่ ยังถูกมองเป็นอีก Line หนึ่งของธุรกิจ ยังขาดความเชื่อมโยงกับ ภาพรวมของธุรกิจ โดย ผู้นำธุรกิจก็ยังไม่ได้มองว่าDigital Transformation เป็นวาระเร่งด่วน
2. Present and Active: ผู้นำธุรกิจเริ่มตระหนักถึง Digital disruption และ เริ่มออกจาก comfort zone แล้ว โดยเริ่มที่จะเรียนรู้และมองหาแนวทางสำหรับDigital Transformation อย่างไรก็ดี องค์กรก็ยังทำงานแบบแยกส่วนงาน การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นระบบ
3. Formalized: เริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ และมีกลยุทธ์ที่ตรงจุดมากขึ้น ผู้นำองค์กรกระตุ้นให้มีการลงทุนในคน กระบวนการ และ เทคโนโลยี ซึ่งส่งผลต่อไปยังผู้บริหารในองค์กรให้รับรู้ และ เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จากนั้น จึงนำไปสู่การวางโครงสร้างองค์กรให้สอดรับกับดิจิทัลอย่างเป็นระบบ และ มีวิสัยทัศน์
4. Strategic : องค์กรได้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัล มีการวางแผนใช้ทรัพยากรอย่างมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนขึ้น สามารถเห็นภาพเป้าหมายระยะสั้น และ ระยะยาว ว่าองค์กรจะใช้ดิจิทัลไปในทางใดบ้าง และได้รับการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างเต็มที่
5. Converged :Digital Transformationได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ DNA องค์กร และองค์กรก็มีการพัฒนาไอเดียใหม่ๆ ตลอดเวลา มีการลงทุนในdigital initiative ที่เกิดคุณค่า ผู้นำองค์กรเริ่มหายใจเข้าออกเป็นtransformation แล้ว รวมถึงมีการพัฒนารูปแบบการทำงานใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอยู่ตลอดเวลา
6. Innovative and Adaptive: องค์กรได้ดูดซับวัฒนธรรมแห่งการสร้างนวัตกรรม และมีการแปลงร่างองค์กรอย่างสมบูรณ์ พร้อมที่จะเร่งความเร็วให้กับกระบวนการทำงาน การลงทุน จนสามารถกระโดดเข้าสู่การเติบโตและการแข่งขันใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความยั่งยืนแก่องค์กรอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ กระบวนการ Digital Transformation แท้จริงแล้วไม่มีสูตรตายตัวและแต่ละองค์กรอาจใช้เวลาต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัย และ ข้อจำกัดที่ต่างกันในแต่ละองค์กร อีกทั้งยังเป็นการกระโดดเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง และไม่รับประกันความสำเร็จ จากการสำรวจของ Forbes พบว่าธุรกิจกว่า 84% ประสบความล้มเหลวใน Digital Transformation โดยธุรกิจที่ล้มเหลวส่วนใหญ่ยังขาดปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ อันประกอบไปด้วย
- ความชัดเจน ผู้นำองค์กรต้องตอบให้ได้ว่า “ดิจิทัล” มีความสำคัญกับอุตสาหกรรมและธุรกิจของคุณโดยเฉพาะอย่างไร ?
- ความเร่งด่วน ธุรกิจของคุณจะไปต่อได้นานแค่ไหนหากไม่ทำ Digital Transformation
- การวางแผนที่เหมาะสมและเป็นระบบ
- การปฏิบัติที่ต้องสอดรับกับสภาพความเป็นจริงของธุรกิจ
ที่มา : https://www.scbeic.com
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
10 อันดับ โดเมนเนม ที่แพงที่สุดในโลก
การลงทุนในหุ้น กองทุน หรือ อสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนที่คนต่างคุ้นเคยกันดี แต่คุณรู้หรือไม่ว่า โดเมนเนม ก็สามารถเป็นอีกช่องทางการลงทุนได้เหมือนกัน
รวมเครื่องมือ และ เทคนิคการตั้ง ชื่อเว็บไซต์ ให้ถูกต้องตามหลักการตลาด (อ่านก่อนจดโดเมน !!)
การตั้ง ชื่อเว็บไซต์ หรือ ชื่อโดเมน (Domain name) ที่ถูกต้อง และ เหมาะสมนั้นมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จของธุรกิจ
Domain name คือ อะไร ? คุณจะเป็นเจ้าของ Domain name ได้อย่างไร ?
ก่อนจะกล่าวถึงความหมายของ Domain Name เราต้องเข้าใจการทำงานของโลก internet ก่อนว่า การจะเข้าใช้งานเว็บไซต์ใด เว็บไซต์หนึ่ง เราจะต้อง...
ทำเว็บไซต์ จำเป็นหรือไม่ ? หากบริษัทไม่ได้ขายสินค้าออนไลน์
หากบริษัทไม่ได้มีการขายสินค้าออนไลน์ แล้วการทำเว็บไซต์ยังคงมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ ? จะเสียงบประมาณไปฟรีๆ หรือเปล่า ?
ทำเว็บ ต้องเตรียมอะไรบ้าง ? เทคนิคและเครื่องมือในการเตรียมข้อมูล
สำหรับคนที่มีแพลนอยากจะ เริ่มทำเว็บไซต์ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มอย่างไร และ ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำแนะนำ
ECommerce ธุรกิจออนไลน์มาแรง ที่คุณควรรู้จัก
ปัจจุบันการซื้อ – ขาย สินค้าออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย คนไทยซื้อสินค้าออนไลน์สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก
SEO คืออะไร ? ปูพื้นฐาน SEO สำหรับมือใหม่
SEO คืออะไร ? ประโยชน์ของ SEO มีอะไรบ้าง ? ปูพื้นฐานความรู้ SEO ที่มือใหม่ควรรู้ ใครที่มีเว็บไซต์ของตัวเองไม่ควรพลาด
ไอเดียทำเว็บไซต์ ให้ตอบโจทย์โดนใจคน Gen Y Gen Z
เว็บไซต์แบบไหนที่ตอบโจทย์ โดนใจวัยรุ่นยุคนี้ ที่ใช้อินเตอร์เน็ต และ ติดต่อสื่อสารผ่านโซเซียลมีเดียมากที่สุด
ติดตามข่าวสาร ความรู้ใหม่ๆ ได้ที่นี่