รวมเครื่องมือ และ เทคนิคการตั้ง ชื่อเว็บไซต์ ให้ถูกต้องตามหลักการตลาด (อ่านก่อนจดโดเมน !!)

เทคนิคตั้ง ชื่อเว็บไซต์

การตั้ง ชื่อเว็บไซต์ หรือ ชื่อโดเมน (Domain name) ที่ถูกต้อง และ เหมาะสมนั้นมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จของธุรกิจ หากคุณเลือกชื่อผิด อาจก่อให้เกิดเรื่องยุ่งยากตามมาภายหลัง เพราะการที่คุณเปลี่ยนชื่อในภายหลังนั้น อาจส่งผลกระทบต่อแบรนด์ รวมถึงอันดับในการค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้

ดังนั้น การเลือกชื่อเว็บไซต์ ให้ดีกับธุรกิจของคุณตั้งแต่เริ่มแรกนั้นจึงสำคัญอย่างยิ่ง

ในบทความนี้ เราจะแชร์ เทคนิค และ เครื่องมือในการ ตั้งชื่อเว็บไซต์ ที่ดีให้กับธุรกิจคุณ ไปเริ่มกันเลย !

อ่านบทความ Domain name คือ อะไร ? ได้ที่นี่

ข้อกำหนดทั่วไป ในการตั้งชื่อโดเมน

  • ชื่อโดเมนสามารถเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ปนกับภาษาไทย
  • จำนวนตัวอักษร (รวมเครื่องหมาย -) และนามสกุล มีความยาวสูงสุดไม่เกิน 67 ตัวอักษร
  • สามารถใช้ ตัวเลข 0-9 ได้
  • สามารถใช้เครื่องหมาย – เพื่อคั่นระหว่างตัวอักษรได้ แต่ไม่สามารถนำมาขึ้นต้น หรือลงท้ายได้
  • ไม่สามารถใช้ ตัวอักษรพิเศษ ได้ เช่น ! @ # $ % ^ & ฿ * ( ) + | / < > , ‘ ? \” [ ] { } _
  • ไม่สามารถใช้ ช่องว่าง หรือ เว้นวรรค ได้

เทคนิคการตั้ง ชื่อเว็บไซต์ ที่ดีต่อธุรกิจ

1. เลือก นามสกุลเว็บไซต์ ให้น่าเชื่อถือ

ในปัจจุบัน มี นามสกุลเว็บไซต์ หรือ นามสกุลโดเมน  หลากหลายรูปแบบมาก ไม่ว่า จะเป็น .com .website .engineering .education .store .center และ อื่นๆ อีกมากมาย

แต่หากคุณต้องการทำเว็บไซต์สำหรับธุรกิจของคุณแล้ว ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่คุณต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ

การใช้ .com จะทำให้เว็บไซต์ของคุณน่าเชื่อถือ เป็นสากล และ จดจำได้ง่าย แต่ในปัจจุบันการที่เราจะเลือกหาจดโดเมน ที่ใช้ .com นั้นทำได้ยากขึ้นเต็มที เราเลยมี นามสกุลโดเมน อื่นๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ และ ได้รับความนิยม ในปัจจุบัน มาแนะนำ

1.1 นามสกุลเว็บไซต์ ต่างประเทศ ที่แนะนำ

.CO คือโดเมนสำหรับนักพัฒนานวัตกรรม ผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ และครีเอเตอร์ที่พัฒนาแนวความคิดที่แปลกใหม่ทางออนไลน์

1.2 นามสกุลเว็บไซต์ ภายในต่างประเทศ ที่แนะนำ

นามสกุลโดเมนเนมประเภทผู้ถือครอง
.co.thCompany / นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท ห้างร้าน
.ac.thAcademic Organization / สถาบันการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย

2. ชื่อเว็บไซต์ (ชื่อโดเมน) ต้องง่ายต่อการจดจำ

  • สั้น
  • สะกดง่าย
  • ออกเสียงง่าย

          การที่จะทำให้ลูกค้าจำชื่อเว็บไซต์ของคุณได้ Domain name ของคุณต้องสั้น สะกดง่าย และ ออกเสียงง่าย เพื่อช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ดียิ่งขึ้น

การตั้งชื่อ Domain name ที่ยาวเกินไป นั้นทำให้ลูกค้าจดจำชื่อของคุณได้ยาก และ เพิ่มความเสี่ยงในการที่ลูกค้าจะจำ และ สะกดชื่อเว็บไซต์ของคุณผิด แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์อื่นๆ แทน

3. มีเอกลักษณ์ เพิ่มความโดดเด่น

การมีชื่อที่มีเอกลักษณ์ จะช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้แบรนด์ของคุณได้ ยกตัวอย่างเช่น

Amazon.com เป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์แบรนด์โดดเด่นมากกว่า ชื่อ buybookonline.com

               เครื่องมือช่วยเหลือ : www.namemesh.com สามารถช่วยให้คุณคิดชื่อเจ๋งๆ สำหรับธุรกิจออกได้ง่ายขึ้น รวมทั้งสามารถเช็คได้เบื้องต้นว่า domain name นั้นว่างอยู่หรือเปล่า

4. ไม่สับสน

  • หลีกเลี่ยงการใช้ –
  • หลีกเลี่ยงใช้ตัวสะกด ที่ซ้ำๆ ติดๆ กัน
  • อย่าสะกดผิด

การใช้ชื่อ Domain name ที่มี – เช่น www.abc-shop.com หรือ การใช้ชื่อที่มีตัวสะกดซ้ำๆ ติดๆกัน เช่น www.presssetup.com จะทำให้ลูกค้าสับสน และ จดจำได้ยาก มีโอกาสที่ลูกค้าจะสะกดชื่อเว็บของคุณผิดได้สูง

5. ตั้งชื่อเผื่อเติบโต

เป็นสิ่งที่ดีที่เราจะใช้ชื่อ Domain name ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ หรือ สินค้าที่คุณทำในปัจจุบัน เพราะมันช่วยสื่อว่าธุรกิจคุณทำเกี่ยวกับอะไรได้ง่ายขึ้น แต่ระวังอย่าใช้ชื่อที่แคบเกินไป จนทำให้คุณลำบากในการขยับขยาย เติบโต ในอนาคต

เครื่องมือและเกร็ดความรู้เพิ่มเติม

วิธีตรวจสอบว่า Domain name ยังว่างอยู่หรือไม่ ?

เนื่องจาก Domain name ไม่สามารถจดซ้ำกันได้ เราจึงต้องทำการเช็คเสียก่อนว่า Domain name ที่คุณเลือกนั้น มีคนจดไปแล้วหรือยัง

          เครื่องมือช่วยเหลือ: https://who.is/ คุณสามารถตรวจสอบว่า Domain name นี้ว่างอยู่หรือไม่ และ ใครเป็นเจ้าของ Domain name เหล่านั้นที่คุณค้นหา

บทสรุป

จบกันไปแล้วนะคะ กับ บทความรวมเทคนิค และ เครื่องมือตั้งชื่อเว็บไซต์ เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจหลักการเลือกโดเมนที่ดีให้กับธุรกิจของคุณ

หากคุณกำลังมองหาบริษัท รับจดโดเมน ทำเว็บไซต์, แอพพลิเคชั่น หรือ พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจของคุณ สามารถติดต่อ Codex ได้ที่

เบอร์ 021147246 ต่อ 1

Line Official Account: @codex

Email: contact@codex.co.th

หากคุณชอบบทความของเรา สามารถกด Share บทความนี้ ไปให้เพื่อนๆ ของคุณได้ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ติดตามข่าวสาร ความรู้ใหม่ๆ ได้ที่นี่